วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6
วันพุธ ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2561 เวลา 12.00-13.30



บรรยากาศในห้องเรียน

ธงชาติมีรูปร่างอะไรบ้าง ?





ความรู้ที่ได้รับ
          การนำเสนอบทความนั้นเราจะต้องอ่านบทความและสรุปให้เพื่อนรู้ เข้าใจ และให้เพื่อนนั้นจำได้ บทความนั้นจะต้องมีแหล่งอ้างอิง เว็บไซต์ เพื่อที่อาจารย์จะได้เข้าไปตรวจสอบหรือได้อ่านบทความนั้นเพิ่มเติม
          วิจัยจะต้องมีแหล่งที่มา ใครเป็นผู้นำเสนอวิจัย ชื่อวิจัยว่าอะไร มาจากมหาวิทยาลัยไหน สาขาอะไร พ.ศ.ะไร
           ตัวอย่างการสอน - เราจะต้องดูคลิปตัวอย่างการสอนแล้วสรุปออกมาให้เพื่อนๆได้เข้าใจ


  • พัฒนาการช่วงอายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็น 2 ช่วง
  • ช่วงอายุ 2-4 ปี = มีพัฒนาการด้านการใช้ภาษา เช่น แม่ พ่อ ใช้ประโยคสั้นๆง่ายๆ คำสั้นๆ ยังไม่มีการใช้เหตุผลหรือใช้เหตุผลได้น้อย ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง
  • ช่วงอายุ 4-7 ปี = มีพัฒนาการด้านการใช้ภาษาได้ดีขึ้น เริ่มเป็นประโยค เริ่มมีการใช้เหตุผลมากขึ้นแต่ยังไม่สมบูรณ์ 100% ใช้รูปธรรมไปสู่นามธรรม ซึ่งเรียกว่าอยู่ใน "ขั้นอนุรักษ์"
  • ขั้นอนุรักษ์ คือ การที่เด็กตอบโดยใช้เหตุผล
      
           ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
ประกอบด้วยหัวข้อของเนื้อหาหรือทักษะ

1. การนับ (Counting) เช่น เด็กนับเลข 1-10 , นับจำนวนสมาชิกในห้องเรียน 
2. ตัวเลข (Number) เช่น เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
3. การจับคู่ (Matching) เช่น การฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน 
4. การจัดประเภท (Classification) เช่น การฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่างๆว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกันในบางเรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่างๆ ด้
5. การเปรียบเทียบ (Comparing) เช่น เปรียบเทียบแก้วน้ำสองแก้ว ใส่น้ำลงไป แก้วใบไหนมีปริมานน้ำมากกว่า หรือ เปรียบเทียบขนาดของกิ่งไม้ว่ากิ่งไม้ไหนมีขนาดยาวกว่าหรือสั้นกว่า
6. การจัดลำดับ (Ordering) เช่น การจัดสิ่งของชุดหนึ่งๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาว
7. รูปทรงและเนื้อที่ (Shape and Space) เช่น เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตามปกติแล้วผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับวงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด (Measurement) เช่น วัดความกว้างของห้องเรียนโดยใช้เท้าเด็กๆวัด นำเท้าเด็กๆมาวางต่อๆกันไปเรื่อยๆจนถึงสุดของห้องแล้วนำเท้าเด็กๆมานับจำนวนของเท้า
9. เซต (Set) เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น
10. เศษส่วน (Fraction) เช่น เล่นเกมจับคู่ภาพ ครึ่งหนึ่งนำภาพครึ่งหนึ่งจำนวนสองชิ้นมาต่อได้ภาพที่สมบูรณ์เป็นจำนวนเต็ม
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย (Patterning) เช่น การพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบและต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ (Conservation) เช่น สอนเรื่องการอนุรักษ์ โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม 


การประเมินผล
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและจด ตอบคำถามอาจารย์ยังไม่ได้
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆเข้าเรียนตรงเวลา ยังมีเพื่อนบางส่วนที่คุยและมีเพื่อนบางส่วนตอบคำถามอาจารย์ได้
ประเมินผู้สอน : อาจารย์สอนได้เข้าใจและปล่อยก่อนเวลาเนื่องจากอาจารย์ติดภารกิจ

วันอาทิตย์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5
วันศุกร์ ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2561 เวลา 12.30-16.30



เพื่อนออกมาอ่านบทความหน้าห้องเรียน





ความรู้ที่ได้รับ
          ได้ฟังเพื่อนออกมาเล่าบทความ  คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นบทความของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ 
เล่าโดยนางสาวรุ่งฤดี โสดา สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ หมายถึง การจัดสภาพการณ์ในชีวิตประจำวันเป็นฐานการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นอย่างดี จัดกิจกรรมให้เด็กค้นคว้า แก้ไขปัญหา คิดรวบยอด เห็นความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ และจัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสมากที่สุด และลงมือปฏิบัติ วิธีนี้จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆรอบตัว
     และได้ทราบว่า คณิตศาสตร์อยู่กับเราทุกหนแห่ง ไม่ว่าจะเป็น บ้าน โรงเรียน วัด โรงพยาบาล และอื่นๆ เราใช้คณิตศาสตร์ตลอดเวลา เช่น เวลาตื่นนอน การอาบนํ้าแต่งตัว การมาโรงเรียน ทุกอย่างล้วนเป็นคณิตศาสตร์ เพราะเราต้องมีการคิด คำนวณ คาดเดาความน่าจะเป็น และอื่นๆ


คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
1.decision   =  การตัดสินใจ
2.probability = ความน่าจะเป็น


สรุปความรู้ที่ได้รับของ : นางสาว พิมพ์สุดา จันทะภา
หมายเหตุ : ขาดเรียน

           ได้รู้ว่าคณิตศาสตร์นั้นอยู่รอบตัวเราไม่ว่าเราจะตื่นนอน ตั้งนาฬิกาปลุกดูเวลา การมาโรงเรียน หรือการซื้อของซื้ออาหารนั้นล้วนอยู่รอบตัวเราเพราะเราต้องมีการคิด การคำนวณ การคาดเดาความน่าจะเป็น 



วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4
วันพุธ ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561 เวลา 12.30-14.30




สมาชิกเพื่อนในห้องเรียน


อาจารย์กำลังสอนนักศึกษา


เพื่อนอาสาออกไปเขียนจำนวนเลขคณิตศาสตร์


อาจารย์ให้พับกระดาษแบ่งเป็น 2 สองส่วน 



ความรู้ที่ได้รับ
           วันนี้อาจารย์ได้เริ่มสอนง่ายๆก่อนโดยการแจกกระดาษให้กับนักศึกษาที่มาเรียน ซึ่งตอนแรกมีเพื่อนเข้ามาเรียนแล้ว 19 คน อาจารย์ได้แจกกระดาษให้กับเพื่อนละส่งต่อกันไปเรื่อยๆ ปรากฏว่ากระดาษมีไม่ครบจำนวนคนและเพื่อนก็ได้เข้ามาเพิ่มอีกรวมจำนวนคนเป็น 25 คน 

                                   กระดาษ มากกว่า คน

                                   กระดาษ > คน
                                   25 > 23
                                   25 - 23 = 2 

ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง เครื่องหมาย ( มากกว่า > ) ( น้อยกว่า < )


  • คณิตศาสตร์ เป็นการแก้ปัญหา การแก้ปัญหาสามารถแก้ได้หลายวิธีมี มีความคิดสร้างสรรค์ 
  • ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
  • คณิตศาสตร์ คำนวณเพื่อหาคำตอบ เป็นเครื่องมือเช่นเดียวกันกับภาษาเพื่อคำนวณหาคำตอบ
  • พัฒนาการ หมายถึง การแสดงออกด้วยพฤติกรรมตามความสามารถในแต่ละระดับอายุ
  • ลักษณะของพัฒนาการ หมายถึง เปลี่ยนแปลงไปตามลับดับขั้นตอน (เป็นเหมือนขั้นบันได)
  • การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ฉันเข้าเรียนตรงตามเวลาและได้จดตามที่อาจารย์สอน
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียนและฟังที่อาจารย์สอน และเพื่อนบางคนได้อาสาสมัครไปเขียนจำนวนเลขบนกระดาน
ประเมินผู้สอน : วันนี้อาจารย์ปล่อยเร็วเพราะอาจารย์ติดธุระ อาจารย์สอนเข้าใจดีค่ะ